Green YRU: โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: มรย
สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว
สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว
แหล่งรวบรวมโครงการ กิจกรรม ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยกระดับสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2569) เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ "มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Yala Rajabhat University: Green YRU) ตามเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปการบริหารจัดการองค์กรฯ สู่องค์กรต้นแบบบที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (Yala Rajabhata University: YRU)
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมส่งเสริมการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ขยะ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษา บุคลากร และอาจารย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์การลด ละ เลิก การใช้ขยะ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ได้ โดยจัดกิจกรรม YRU Recycled Fasion Show ในวันที่ 17 ตุลาคม 2561 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอก ร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อร่วมกันรณรงค์การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้ง การลด ละ เลิก การใช้พลาสติกต่อไป
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.yru.ac.th/th/events/view/khna-withyasastr-thekhnoloyi-la-karkestr-mrphyala-khx-cheiy-naksuksa-smakhr-yru-recycled-fashion-show-2018
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561
โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดอบรมปฏิบัติการ "โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว กิจกรรมการจัดการขยะครบวงจร" ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2561 ณ โรงแรมสยามออเรียลทัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้เข้าอบรมเป็นผู้บริหารฝ่ายบริหาร และอำนวยการสำนักงาน รวมทั้งผู้นำนักศึกษา และทีมคณาจารย์จากสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิด อาจารย์ ดร.ซันวานี จิใจ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติวิทยากรจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
การจัดอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการจัดการขยะของผู้บริหารและนักศึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการจัดการขยะของตนเอง และในหน่วยงานของตนเอง และในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีเป้าหมายสำคัญในการอบรมครั้งนี้ คือ (1) สร้างเครือข่าย Green YRU Team จากทุกส่วนราชการการ บุคลากรทุกกลุ่ม และผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (2) กำหนดแผนปฏิบัติการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด (KPIs) หน่วยงานรับผิดชอบ และงบประมาณ (3) การแบ่ง Green Zone ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อประกวดพื้นที่สีเขียวแยกตามส่วนราชการภายใน ตามพื้นที่และอาคารส่วนราชการภายที่รับผิดชอบ (4) การกำหนดแนวทางและคณะกรรมการรับผิดชอบ การดำเนินงานไปสู่การเข้าจัดลำดับ Green University หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว ตามเกณฑ์ Green UI Matrix ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ผลการจัดโครงการครั้งนี้ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าอบรม ซี่งเป็นเครือข่าย Green YRU Team จำนวน 42 คน ได้ร่างแผนปฏิบัติการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) และได้แผนปฏิบัติปฏิบัติงานสำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัย เข้าสู่ Green University อย่างยั่งยืน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) นับเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง
การจัดอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการจัดการขยะของผู้บริหารและนักศึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการจัดการขยะของตนเอง และในหน่วยงานของตนเอง และในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีเป้าหมายสำคัญในการอบรมครั้งนี้ คือ (1) สร้างเครือข่าย Green YRU Team จากทุกส่วนราชการการ บุคลากรทุกกลุ่ม และผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (2) กำหนดแผนปฏิบัติการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด (KPIs) หน่วยงานรับผิดชอบ และงบประมาณ (3) การแบ่ง Green Zone ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อประกวดพื้นที่สีเขียวแยกตามส่วนราชการภายใน ตามพื้นที่และอาคารส่วนราชการภายที่รับผิดชอบ (4) การกำหนดแนวทางและคณะกรรมการรับผิดชอบ การดำเนินงานไปสู่การเข้าจัดลำดับ Green University หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว ตามเกณฑ์ Green UI Matrix ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ผลการจัดโครงการครั้งนี้ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าอบรม ซี่งเป็นเครือข่าย Green YRU Team จำนวน 42 คน ได้ร่างแผนปฏิบัติการจัดการขยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) และได้แผนปฏิบัติปฏิบัติงานสำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัย เข้าสู่ Green University อย่างยั่งยืน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) นับเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561
อธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ สนับสนุนโครงการจัดการขยะสู่ Green YRU
![]() |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มอบนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย สู่ "มหาวิทยาลัยสีเขียว" แก่ผู้บริหารระดับกลางที่ผ่านการอบรมผู้บริหารระดับกลาง |
ผลจากการประชุมและการนำเสนอแนวคิดการดำเนินการโครงการต่อยอดจากการอบรมครั้งนี้ ผู้บริหารที่เข้าอบรมนำเสนอโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย "มหาวิทยาลัยสีเขียว" จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ และโครงการส่งเสริมสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าว จะดำเนินการต่อยอดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยอาศัยความร่วมมือของทุกส่วน โดยเฉพาะพลังนักศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งมีองค์ประกอบการประเมิน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) ด้านของเสีย 4) ด้านน้ำ 5) การขนส่ง และ 6) การศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมลงนาม MoU กับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนการก้าวไปสู่ มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)



วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ Green YRU
![]() |
ประชุมกรรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ Green YRU ครั้งที่ 1 |
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ ประธานได้แจ้งให้คณะกรรมการรับทราบและรับรู้เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในด้านการบริหารจัดการขยะครบวงจร การจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน และการพัฒนาสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้
- การพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการจัดการขยะ พลังงาน ภูมิทัศน์ ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัด (KPI) ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [กรอบตัวชี้วัดและเป้าหมาย]
- มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการจัดสภาพแวดล้อมและภูมิทัศนย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นต้นแบบและเข้าสมัครจัดอันดับโลกด้าน Green University โดยเร่งพัฒนาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ (1) สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (2) พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) ของเสีย กระดาษ พลาสติก ของเสียเป็นพิษ น้ำเสีย (4) น้ำ (5) การขนส่ง และ 6) การศึกษา โดยคาดว่าน่าจะส่งข้อมูลเข้าประกวดแข่งขัน “การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยูไอ กรีนเมตริก (UI GreenMetric) ในปีงบ 2564
http://greenmetric.ui.ac.id/wp-content/uploads/2015/07/UI-GreenMetric-Guideline-2017_Thai.pdf แนะนำความรู้เกี่ยวกับ Geen University ที่ลิงก์ https://prezi.com/y_dhoaxfh4cz/presentation/
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
มอบนโยบายการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการให้บริการของ สนอ. สู่ Green YRU

- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการอย่างมืออาชีพ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาท้องถิ่น (ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ)
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ภายในปี 2564 สำหรับหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี หน่วยงานสนับสนุน และบุคลากรสายสนับสนุน (วิชาชีพ) เป็นกำลังสำคัญ โดยเฉพาะ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี (http://president.yru.ac.th) และหน่วยงานภายใน รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากร จึงจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปและปรับปรุงกระบวนการทำงาน พัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้บรรลุเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย รวมทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด

แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตัวชี้วัด ในระยะรอบการประเมินผลปฏิบัติราชการ 2/2561
1.1 จำนวนต้นแบบในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม การจัดการขยะ การจัดการพลังงาน
โดยมี งานอาคารสถานที่ เป็นหน่วยหลัก สำหรับแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความเป็นมาตรฐาน สร้างความเข้าใจและการรับรู้ ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ สามารถยกระดับความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่
- ปรับปรุงระบบขยะให้ครบวงจร ได้แก่ การจัดทำคู่มือระบบจัดการขยะของมหาวิทยาลัย การรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดหาถังขยะรองรับการคัดแยก การจัดสถานที่รวบรวมขยะรีไซเคิล การหารายได้จากขยะ การจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานด้านจัดการขยะของบุคลากร การประกวดแข่งขัน Green YRU Zone และการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 ได้รับจัดสรรงบประมาณจากงบยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ข้างต้น จะเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2561 นี้
- พัฒนากระบวนงานมาตรฐานการจัดการภูมิทัศน์และสถานที่ เช่น การตัดหญ้า การตกแต่งต้นไม้ การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การบำรุงรักษาสวนหย่อม น้ำพุ การดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยของภูมิทัศน์ การเตรียมพันธุ์ไม้หรือการจัดหาพันธุ์ไม้เพื่อรองรับพิธีซ้อมรับปริญญา และการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การปรับปรุงสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการอาคารและสถานที่ ได้แก่ การปรับปรุงป้ายบอกทาง ป้ายหมายเลขอาคาร ป้ายชื่ออาคาร ป้ายสถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นปัจจุบัน และให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การปรับปรุงกระบวนงานมาตรฐานของหน่วยรักษาความปลอดภัย ได้แก่ การรวบรวมฐานข้อมูลยานพาหนะและการติดป้านสติ๊กเกอร์ การพัฒนามาตรฐานการปฏ่ิบัติงานอย่างมืออาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัย (การพัฒนาบุคลิกภาพ, การสื่อสาร, เครื่องแบบและการแต่งกาย, การปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดบริการป้อม รปภ.) การปรับภูมิทัศน์และความสะอาดบริเวณป้อม การเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ การปฏิบัติหน้าที่เสริม เช่น การช่วยปิดเปิดไฟฟ้าเพื่อประหยัดพลังงาน การแจ้งหลอดไฟส่องสว่างกลางคืนที่เสียหายและต้องซ่อมแซม เป็นต้น รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การยกระดับการให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อให้บริการทันเวลา มีจำนวนเพียงพอ และมีคุณภาพ โดยเน้นผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
- การยกระดับการให้บริการงานยานพาหนะ (มอบงานสารบรรณ ไปพิจารณากำหนดมาตรการ)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)